วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

เมื่อนักศึกษา ทุนปริญญาเอกเรียนไม่จบ ความผิดของใคร?






Thairath
ไทยรัฐออนไลน์
วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2553


เมื่อนักศึกษา ทุนปริญญาเอกเรียนไม่จบ ความผิดของใคร?


...ทุน ศึกษาต่อบางทุนมีค่าตอบแทนให้อาจารย์ที่ปรึกษา...ทำให้นักศึกษาทุนบางคนคิด ว่าอาจารย์ได้ค่าตอบแทนจากทุนของนักศึกษา...มองเห็นว่าอาจารย์เป็นหนี้บุญ คุณนักศึกษา...ต้องทำให้เรียนจบ...

...ข้าราชการ และอาจารย์ มหาวิทยาลัยได้ทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ...แต่เรียนไม่จบ...ยังไม่ได้ยินว่า มีการฟ้องร้องอาจารย์ที่ปรึกษา คณะวิชา หรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่ไปเรียน...

...นักศึกษาทุนปริญญาเอก ที่เรียนในประเทศไทย...แต่เรียนไม่จบ...เริ่มมีการร้องเรียนหรือฟ้องอาจารย์ ที่ปรึกษา ภาควิชา คณะวิชา และมหาวิทยาลัยในประเทศไทย...

การเร่ง พัฒนาบุคลากรหรืออาจารย์ในมหาวิทยาลัยให้มีคุณวุฒิปริญญาเอกเพื่อให้ได้ตาม มาตรฐานและตัวชี้วัดเพื่อแสดงคุณภาพของสถานศึกษาในปัจจุบันเป็นกระบวนการที่ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในหลายภาคส่วนด้วยรูปแบบและวิธีการต่างๆ เพื่อให้อาจารย์ในสถานศึกษาได้มีคุณวุฒิปริญญาเอก และการให้ทุนเพื่อศึกษาต่อจากต้นสังกัดหรือจากหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ เรื่องมาตรฐานของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทำให้มีนักศึกษาทุนระดับปริญญาเอกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและ ต้างประเทศจำนวนมาก บางส่วนได้จบการศึกษาและกลับไปทำหน้าที่แล้ว แต่บางส่วนต้องกลับไปทำหน้าที่แต่ไม่มีปริญญาเอกกลับไปด้วย หรือ เรียนไม่จบนั่นเอง เมื่อนักศึกษาที่ได้ทุนเหล่านี้เรียนไม่จบ จึงมีคำถามว่าเป็นความผิดของใคร? ใครต้องรับผิดชอบหรือไม่ อย่างไร ? เป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบได้ทุกกรณี

ความต้อง การคนจบปริญญาเอก

มหาวิทยาลัย ใหม่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งแต่เดิมสถานศึกษาเหล่านี้พัฒนามาจากโรงเรียน มาเป็นวิทยาลัย และขยับขึ้นมาเป็นสถาบันก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน บุคคลากรส่วนมากไม่จบปริญญาเอก เพราะในขณะนั้นไม่มีความจำเป็นต้องใช้ครู อาจารย์ที่จบปริญญาเอก เพราะทำการเรียนการสอนในระดับตำกว่าปริญญาหรือปริญญาตรี ต่อมาเมื่อเป็นมหาวิทยาลัย ความจำเป็นในการมีอาจารย์ที่จบปริญญาเอกมีมากขึ้นเพราะภารกิจของมหาวิทยาลัย มีขอบเขตกว้างขวางกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำวิจัยซึ่งไม่ใช่ภาระกิจของสถานศึกษาประเภทโรงเรียน หรือวิทยาลัย แต่เป็นหนึ่งในภารกิจของมหาวิทยาลัย ได้แก่ ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการแก่สังคมและ ทำนุบำรุงศิลปวัฒธรรม

จำนวนของคนที่ควรจบปริญญาเอก

ความ สามารถของคนที่จะจบปริญญาเอกได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานนั้น สามารถอธิบายโดยใช้การแจกแจงเป็นโค้งปกติถึงกระบวนการให้การศึกษาในระดับ อุดมศึกษาเมื่อเทียบเคียงกับธรรมชาติทางสติปัญญา รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ ของมนุษย์ที่จะเอื้อให้จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญาตรีนั้นจะอยู่ ที่ประมาณ 16 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด หรือประมาณ ซิกม่าที่ +1.00 ขึ้นไป (พื้นที่ใต้โค้งปกติที่มีค่าอยู่ที่ .3413 ) นั่นคือปริมาณคนที่อยู่เหนือค่า ซิกม่าที่ +1.00 ขึ้นไปเท่านั้นที่จะสามารถเรียนในระดับอุดมศึกษาระดับปริญาตรีขึ้นไปได้ อย่างมีคุณภาพ และถ้าจะจบปริญญาเอกได้นั้นจะมีจำนวนประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดเท่านั้น นั่นคือมีค่า ซิกม่าอยู่ที่ +2.00 ขึ้นไป (พื้นที่ใต้โค้งปกติมีค่าอยู่ที่ .4772) คนที่เข้าใจเรื่องโค้งปกติ และพื้นที่ใต้โค้งปกติลองหลับตานึกภาพว่า ขณะนี้ เรารับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ของ ซิกม่าที่ต่ำลงมาเรื่อย ๆ เข้ามาเรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งค่อยข้างแน่ใจว่า ขณะนี้เรารับจำนวนคนที่อยู่ในค่าซิกม่า ติดลบหรืออยู่ในเขต-1.00 และ+1.00 ซึ่งมีจำนวน ประมาณ 68 เปอร็เซ็นต์ตรงกลางของโค้งปกติเข้ามาเรียนในสถาบันอุดมศึกษาแล้ว ทั้งนี้เพราะการขยายโอกาสทางการศึกษา ถือเป็นความสำเร็จในอีกมิติหนึ่งได้เหมือนกัน

ดังนั้นถ้าเชื่อหรือ ยอมรับว่าโค้งปกติเป็นการแสดงถึงการแจกแจงของธรรมชาติรวมทั้งความสามารถของ มนุษย์บนดาวเคราะห์ดวงนี้ หรือสังคมหนึ่ง ประเทศหนึ่งไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเรียนในระดับอุดมศึกษาได้ หรือจบปริญญาเอกได้ตามมาตรฐานของระบบการศึกษาในปัจจุบัน จะมีเพียง 3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จะสามารถจบการศึกษาระดับปริญญาเอกได้ การรีบเร่งผลิตปริญญาเอกจึงไม่อาจฝืนธรรมชาติของโค้งปกติได้ และสามารถใช้โค้งปกติในการอธิบายได้เช่นกัน

นักศึกษาทุนปริญญาเอก

แต่ ก่อนการศึกษาระดับปริญญาเอกมีน้อยในประเทศไทย ต้องไปเรียนในต่างประเทศ ผู้ที่ไปเรียนส่วนหนึ่งได้รับทุนการศึกษาไปเรียนเพราะเป็นความต้องการของ หน่วยงานและมีค่าใช้จ่ายสูงมาก คนที่มีความสามารถแต่ไม่มีทุนพอจะไปเรียนเองได้จะใช้ช่องทางของแหล่งทุนต่าง ๆ ยกเว้นคนที่มีฐานะดี ภาษาดี และมีความพร้อมก็จะไปเรียนได้ การเรียนต่อต่างประเทศต้องใช้ความความพร้อมหรือกำลังด้านต่างๆ ดังนี้

1. กำลังกาย หมายถึงต้องแข็งแรง สุขภาพดี ทนต่อความยากลำบากได้

2. กำลังสติปัญญา หมายถึงต้องสามารถเรียนรู้ได้ดี ปรับตัวได้ดี ภาษาดี ปัญญาดี

3. กำลังใจ หมายถึง มีแรงจูงใจ แรงบันดาลใจ และความมุ่งหวังความสำเร็จ จิตใจเข้มแข็ง ทนต่อสิ่งรบกวนต่างๆ ได้

4. กำลังทรัพย์ หมายถึง ต้องมีเงิน เพราะค่าใช้จ่ายสูง ค่าครองชีพสูง และการเรียนต้องมีค่าใช้จ่ายมาก

การ เปิดหลักสูตรปริญญาเอกในเมืองไทยขึ้นและมีนักศึกษาทุนในประเทศมาเรียน ผู้ที่เรียนในเมืองไทยก็ต้องการกำลังดังกล่าวเช่นกัน และต้องการในปริมาณที่ไม่น้อยกว่ากัน บางเวลาการเรียนในเมืองไทยยังต้องการกำลังบางด้านสูงกว่าการเรียนในต่าง ประเทศอีกด้วย เช่น กำลังใจ เพราะวัฒนธรรมการเรียนการสอนในแต่ละสถานศึกษา และพฤติกรรมส่วนตัวของอาจารย์ในเมืองไทย อาจสร้างความท้อแท้ให้กับนักศึกษาได้อย่างง่ายดาย

นักศึกษาทุนปริญญา เอกที่มาเรียนในเมืองไทยส่วนมากมีสถานภาพติดตัวมาด้วย ส่วนมากก็เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยใหม่ มียศ มีตำแหน่ง สถานะทางสังคมที่ชัดเจน และเมื่อต้องมาเรียนกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐที่อาจารย์มีความอิสระทางวิชาการและการทำงานสูง ที่สุดในหน่วยงานของประเทศไทย นักศึกษาจึงต้องใช้ความสามารถในการปรับตัวอย่างมาก นักศึกษาทุนปริญญาเอกของไทยต้องสามารถแสดงวุฒิภาวะด้านนี้อย่างสูงจึงจะผ่าน พ้นปัญหาด้านนี้ไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาด้านอื่นที่ต้องใช้กำลังอย่างมาก เช่น กำลังสติปัญญานั้น เป็นประเด็นที่ประกอบกับกำลังใจอย่างมาก นักศึกษาปริญญาเอกที่ได้รับทุนมาเรียน และเรียนไม่จบ มักจะมีปัญหาสองด้านนี้เป็นสำคัญ

ความคาดหวังของนักศึกษาทุนปริญญาเอก

การ เป็นนักศึกษาทุนปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยในประเทศ ผู้ได้รับทุนมีความรู้สึกว่าต้องเรียนจบกลับไป อย่างไรเสียอาจารย์และมหาวิทยาลัยต้องช่วยเหลือให้จบ เพราะเป็นความต้องการของรัฐบาล และใช้เงินทุนของรัฐบาล หรือเป็นเงินทุนของหน่วยงาน และมีภาระต้องใช้ทุนในรูปแบบต่าง ๆ ตามเงื่อนไขของทุน อาจารย์คงไม่ใจร้าย ไม่ช่วยเหลือ หรือปล่อยให้นักศึกษาทุนเหล่านั้นต้องกลับไปอย่างคนมีปัญหา ทุนบางทุนมีค่าตอบแทนให้อาจารย์ที่ปรึกษาอีกด้วยทำให้นักศึกษาคิดว่าอาจารย์ ได้ค่าตอบแทนจากทุนของนักศึกษาแล้วต้องช่วยให้นักศึกษาไห้จบการศึกษา และอาจมองเห็นว่าอาจารย์เป็นหนี้บุญคุณนักศึกษาอีกด้วยที่ทำให้อาจารย์ได้ เงินค่าตอบแทนเป็นที่ปรึกษา ดังนั้นต้องทำให้นักศึกษาจบให้ได้

ความ คาดหวังและความรู้สึกดังกล่าวเป็นความเข้าใจผิด นักศึกษาต้องช่วยตัวเองก่อน ตามแบบแผนของการเรียนในระดับอุดมศึกษาทั่วไป ไม่ควรคาดหวังว่าจะได้ทุกอย่างจากอาจารย์ที่ปรึกษา หรือมหาวิทยาลัย และเมื่อไม่จบการศึกษาตามเวลาที่กำหนด นักศึกษาไม่ยอมรับความผิดของตนเอง แต่โทษผู้อื่น และดำเนินการเรียกหาคนผิด หรือคนรับผิดชอบที่ทำให้ตนเองไม่จบการศึกษา อาจกลายเป็นเรื่อง เป็นคดีความที่ต้องให้ผู้อื่นเข้ามาตัดสิน

ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ต้องเตรียมรับปัญหานี้ในเบื้องต้น การร้องเรียน หรือฟ้องอาจารย์ที่ปรึกษา ภาควิชา คณะวิชา รวมทั้งมหาวิทยาลัยเพราะนักศึกษาทุนไม่สามารถเรียนจบได้เริ่มจะมีให้เห็น แล้ว ขอให้มหาวิทยาลัยที่ยังไม่มีเรื่องแบบนี้เตรียมพร้อมสำหรับเรื่องนี้ไว้เลย

รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์

ไม่มีความคิดเห็น:

Oblivion Duo Guitar