วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Music of a King ดนตรีแห่งราชันย์


Music of a King

Janine Yasovant Mpa.

Artists must understand academic and scientific concepts in order to set up the models for their art works. Likewise, academics must know scientific theories, and at the same time have aesthetic heart to constantly improve their duties. Scientists are not different; they must have academic skills and love to enhance their scientific works. These three elements are related to each other, and equally significant. Art is crucial to any kind of work. Artists are therefore very important citizens, who deserve to be praised and honored.

Thailand's King Bhumibol Adulyadej of Thailand has always promoted these ideas in his passion for arts and music

Now 81 years old, he was born in Cambridge, Massachusetts, U.S.A., the third and youngest child of Prince Mahidol of Songkla and Princess Srisangwan.



He attended the Ecole Nouvelle de la Suisse Romande, Chailly sur Lausanne. Later on he moved to the Gymnase Classique Cantonal of Lausanne from where he received his Bacheliers Lettres. He then entered Lausanne University to study science, but the sudden death of his elder brother, King Ananda Mahidol, in Bangkok in 1946, changed the course of his life completely, for the Law of Succession bestowed on him the arduous but challenging function of the Thai Crown. The government on behalf of the people came to ask the Princess Mother for her other son to be their King. As he had not finished his education, he decided to go back to Switzerland for another period of study, but this time in the subjects of Political Science and Law in order to equip himself with the proper knowledge for government.

Following the completion of his education in Switzerland in the early 1950s, he returned home to Thailand.

Among his many interests in Arts, Sports, Agriculture and Engineering, he has maintained a special love for jazz. But he framed this in the larger aspect of all music:

"Whether jazz or otherwise, music is a part of me. It is a part of everyone, an essential part of us all. To me, music is something fine and beautiful. I think we should all recognize the value of music in all its forms, since all types of music have their place and time, and respond to different kinds of emotions."

Jazz was particularly popular in the 1940's, and it was at that time that he first began composing songs especially in the Blues idiom, such as:

CANDLELIGHT BLUES

BLUE DAY


These are only two of over fifty compositions. His music has become an important part of the Thai people. The song "Pun Pie Mai (Blessing For New Year)" became traditional music for the New Year celebration. He composed "Mahachulalongkorn" for Chulalongkorn University, "Yoongthong" for Thammasart University and "Kasetsart March" for Kasetsart University, the symbolic songs for the three government universities. In military arena, "The Royal Guards March" and "The Colors March" became the type of music that was played annually during official ceremonies for nation. In his 60-year reign, many political crises and revolutions occurred and many of his musical compositions were used by all sides to find and nurture support.

The King is highly knowledgeable in music composition theory. He was a leader in Thailand's International song composition. Using strange and complicated chords that create tense union in music and unusual varieties of dance rhythms, his music is played continuously and some of it has become legend in Thailand.

His favorite musical instruments are saxophone, clarinet, and trumpet. He can play guitar and piano as well. He played music with both Thai and International bands, no matter what the style and was known for jazz improvisations. He performed with world-class musicians such as Benny Goodman, Jack Teagarden, Lionel Hampton, and Stan Getz, especially during his time in New York. They considered him a colleague and sincerely praised his talent. His favorite jazz styles are Dixieland and Swing. And he particularly admires Sydney Bechet, Duke Ellington, and Johnny Hodges.

Along with his music, the King has developed and supported thousands of projects in a wide array of areas important to the Thai people. Although he is a constitutional monarch, he is so revered by the Thai people that his selective appearances and proclamations have a powerful impact. He is equally selective in his politics and rarely injects his views. But this year, on December 4, one day before his birthday, he gave a speech to the prime minister, the leader of Thailand (as well as his people) that were broadcast on television and radio. It was a careful rebuke of the current policies. He also spoke frankly and unexpectedly about his position. This topic was entitled: "The king can do no wrong."

Thailand still has enforced laws which make it illegal to criticize the monarchy. Section 8 of the Thai Constitution states: "The King shall be enthroned in a position of revered worship and shall not be violated. No person shall expose the King to any sort of accusation or action." Yet, this is what the King said:

"If you say that the King cannot be criticized, it suggests that the King is not human. If someone offers criticism suggesting that the King is wrong, then I would like to be informed of their opinion. If I am not, that could be problematic... If we hold that the King cannot be criticized or violated, then the King ends up in a difficult situation."

Beneath this statement lies the principles which have guided King Bhumibol Adulyadej throughout his reign ─ the "Tenfold Moral Principles" of the Sovereign, "Tossapit Rajatham" in Thai,

1. Dana: liberality, generosity, or charity. The giving away of alms to the needy. It is the duty of the king (government) to look after the welfare of his needy subjects. The ideal ruler should give away wealth and property wisely without giving in-to craving and attachment. In other words he should not try to be rich making use of his position.

2. Sila: morality - a high moral character. He must observe at least the Five Precepts, and conduct himself both in private and in public life as to be a shining example to his subjects. This virtue is very important, because, if the ruler adheres to it, strictly, then bribery and corruption, violence and indiscipline would be automatically wiped out in the country.

3. Pariccaga: Comfort - Making sacrifices if they are for the good of the people - personal name and fame; even the life if need be. By the grant of gifts etc. the ruler spurs the subjects on to more efficient and more loyal service.

4. Ajjava: Honesty and integrity. He must be absolutely straightforward and must never take recourse to any crooked or doubtful means to achieve his ends. He must be free from fear or favour in the discharge of his duties. At this point, a stanza from 'Sigalovada Sutta. (Digha-Nikaya), a relevant declaration by the Buddha comes to my mind:

"Canda, dose, bhaya, moha - Yo dhammam nativattati. Apurati tassa yaso - Sukkha pakkheva candima")

Meaning: If a person maintains justice without being subjected to favoritism, hatred, fear or ignorance, his popularity grows like the waxing moon.

5. Maddava: Kindness or gentleness. A ruler's uprightness may sometimes require firmness. But this should be tempered with kindness and gentleness. In other words a ruler should not be over - harsh or cruel.

6. Tapa: Restraint of senses and austerity in habits. Shunning indulgence in sensual pleasures, an ideal monarch keeps his five senses under control. Some rulers may, using their position, flout moral conduct - this is not becoming of a good monarch.

7. Akkodha: Non-hatred. The ruler should bear no grudge against anybody. Without harboring grievances he must act with forbearance and love. At this instance, I am reminded of how a certain royal pupil, an heir to the throne, who had been punished by the teacher for an offence, took revenge by punishing the teacher after he became King! (Jataka Text). Political victimization is also not conducive to proper administration.

8. Avihimsa: non-violence. Not only should he refrain from harming anybody but he should also try to promote peace and prevent war, when necessary. He must practice non-violence to the highest possible extent so long as it does not interfere with the firmness expected of an ideal ruler.

9. Khanti: Patience and tolerance. Without losing his temper, the ruler should be able to bear up hardships and insults. In any occasion he should be able to conduct himself without giving in-to emotions. He should be able to receive both bouquets and brickbats in the same spirit and with equanimity.

10. Avirodha: Non - opposition and non-enmity. The ruler should not oppose the will of the people. He must cultivate the spirit of amity among his subjects. In other words he should rule in harmony with his people.








"คนที่ทำงานศิลปะก็ต้องรู้เรื่องวิชาการ และรู้หลักทางวิทยาศาสตร์ เพื่อจะได้เป็น
แบบแผนต่างๆ ต่อไป งานวิชาการก็ทำนองเดียวกัน จะต้องรู้หลักวิทยาศาสตร์ ใน
ขณะเดียวกันก็ต้องมีใจทางศิลปะจึงจะสามารถพัฒนางานนั้นให้ดีไปได้ และในทาง
วิทยาศาสตร์ก็ทำนองเดียวกัน ต้องมีความรู้ด้านวิชาการและต้องมีใจรัก ตั้งใจทำ
อะไรให้ดีขึ้น สรุปว่า ทั้งสามส่วนเป็นความสำคัญ ซึ่งต้องเกี่ยวเนื่องกัน งานศิลปะมี
ความสำคัญต่องานทั้งปวง ศิลปินเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ สมควรจะยกย่องเชิดชู
เกียรติต่อไป"

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่9
ที่พูดถึงความรักและประทับใจในดนตรีของพระองค์ที่ผ่านมา



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ทรงพระราชสมภพ ณ วันจันทร์ที่ 5
ธันวาคม พุทธศักราช 2470 ณ โรงพยาบาลเมาท์ออเบิน เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐ
แมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้องในสมเด็จ
พระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทรา
บรมราชชนนี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงศึกษาในโรงเรียน
โนแวล เดอ ลา สวิส โรมอนด์ ชัยยี ซูร์ โลซานน์ และได้ทรงศึกษาต่อ ณ โรงเรียน
จิมนาส คลาสซิค คองโตนาล แห่งโลซานน์จนจบ ทรงได้รับประกาศนียบัตรชั้น
มัธยม และทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ สาขาวิทยาศาสตร์ เมื่อ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน
2489 รัฐบาลในนามของประชาชนทั้งประเทศได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระศรีนคริน
ทราบรมราชชนนี กราบบังคมทูลฯ ขอพระราชทานอัญเชิญ พระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวทรงสืบราชสมบัติ แต่เนื่องจากยังทรงศึกษาไม่จบ จึงเสด็จฯ กลับไปยัง
สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อในวิชากฎหมายและการเมือง เพื่อให้เหมาะสม
กับการที่ต้องทรงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ต่อไป

หลังจากที่พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในช่วงต้นปี
2493 พระองค์จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับมายังประเทศไทย พระองค์ทรงมีความ
สนพระราชหฤทัยในศิลปะ กีฬา การเกษตรกรรม วิศวกรรม และพระองค์ทรงโปรด
ดนตรีแจ๊สเป็นพิเศษ รวมทั้งดนตรีต่างๆ ทุกประเภทด้วย สำหรับดนตรี พระองค์
ท่านเคยกล่าวมีใจความว่า ไม่ว่าจะเป็นแจ๊สหรือไม่ก็ตาม ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของ
ข้าพเจ้า และเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญกับชีวิตของทุกคน สำหรับตัวข้าพเจ้าแล้ว ดนตรี
คือความงดงาม เราควรจะจดจำคุณค่าของดนตรีทุกรูปแบบ ซึ่งอยุ่ในแต่ละอารมณ์
และกาลเวลาของดนตรีนั้น

ตนตรีแจ๊สเป็นที่นิยมมากในช่วงปี 2483 ในเวลานั้นเอง พระองค์ทรงเริ่มพระ
ราชนิพนธ์เพลงในทำนองบลูส์ อาทิ

แสงเทียน Saeng Tien

อาทิตย์อับแสง Artit Up Saeng

สองบทเพลงนี้มาจากจำนวนบทเพลงกว่า 50 บทประพันธ์ของพระองค์ ดนตรีของ
พระองค์ท่านกลายเป็นส่วนสำคัญของคนไทย เพลงพรปีใหม่กลายเป็นบทเพลง
ฉลองปีใหม่ของไทย พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เพลง มหาจุฬาลงกรณ์ สำหรับ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพลงยูงทอง สำหรับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพลง
มาร์ชเกษตรศาสตร์ สำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บทเพลงสัญลักษณ์สำหรับ
มหาวิทยาลัยรัฐบาลทั้ง 3 แห่ง สำหรับทางด้านทหาร บทเพลงมาร์ชราชวัลลภและ
เพลงธงชัยเฉลิมพลกลายเป็นบทเพลงที่ถูกบรรเลงเป็นประจำทุกปีในช่วงพระราช
พิธีสำคัญของชาติ

ในช่วงระยะเวลา60ปีแห่งการครองราชสมบัติของพระองค์ มีเหตุการณ์วิกฤตทาง
การเมืองและการปฏิวัติหลายครั้ง บทเพลงของพระองค์หลายชิ้นถูกนำไปใช้ใน
ทุกๆฝ่ายเพื่อค้นหาการสนับสนุน
พระองค์ทรงมีความรู้ทางด้านทฤษฎีดนตรีเป็นอย่างสูง พระองค์ทรงเป็นผู้นำในการ
พระราชนิพนธ์ดนตรีสากลของประเทศไทย ด้วยการใช้คอร์ดที่แปลกและซับซ้อน
ทำให้เกิดเสียงประสานที่เข้มข้นและความหลากหลายของจังหวะเต้นรำ บทเพลง
ของพระองค์ท่านถูกบรรเลงอย่างต่อเนื่องและบางเพลงกลายเป็นเพลงอมตะ
เครื่องดนตรีที่พระองค์ทรงโปรดปรานที่สุดคือ แซกโซโฟน คลาริเน็ต และทรัมเป็ต
พระองค์สามารถทรงกีตาร์และเปียโนได้อีกด้วย พระองค์ทรงบรรเลงดนตรีร่วมกับ
วงดนตรีทั้งไทยและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดด้วยการใช้Jazz
improvisations และสามารถบรรเลงโต้ตอบได้อย่างครื้นเครงกับนักดนตรีต่าง ๆ ที่
มีชื่อเสียงของโลก เช่น เบนนี่ กู๊ดแมน (Benny Goodman) แจ๊ก ทีการ์เด้น
(Jack Teagarden) ไลโอเนล แฮมตัน (Lionel Hampton) สแตน เก็ตส์
(Stan getz) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงของโลกเหล่านั้นล้วนถวายการยกย่องพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวในฐาน ะที่ทรงเป็นนักดนตรีแจ๊สที่มีอัจฉริยภาพสูงส่ง

รูปแบบดนตรีแจ๊ซที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดคือ ดิ๊กซีแลนด์ และ
สวิง กล่าวสำหรับนักดนตรีแจ๊ซที่ต้องพระราชหฤทัย หนึ่งคือ ซิดนีย์ เบเชต
ดุ๊ก เวลลิงตัน อีกหนึ่งคือ จอห์นนี่ ฮอดเจส

พระองค์ได้พัฒนาและสนับสนุนโครงการในพระราชดำรินับพันโครงการในหลายๆ
พื้นที่สำคัญต่อประชาชนชาวไทย แม้ว่าพระองค์ท่านจะเป็นพระมหากษัตริย์นัก
ประชาธิปไตย พระองค์ท่านยังเป็นที่เคารพสักการะของชาวไทย พระราชดำรัสของ
พระองค์จึงมีผลกระทบเป็นอย่างมาก พระองค์ทรงเป็นกลางทางการเมือง แต่ปีนี้
วันที่ 4 ธันวาคม ก่อนวันคล้ายวันพระราชสมภพหนึ่งวัน พระองค์ทรงมีพระราชดำรัส
แด่นายกรัฐมนตรีและชาวไทยทุกคนผ่านทางวิทยุและโทรทัศน์ พระองค์ทรงตรัส
อย่างจริงใจเกี่ยวกับสถานะภาพของพระองค์ หัวข้อมีชื่อว่า พระมหากษัตริย์ทำ
อะไรก็ไม่ผิด ประเทศไทยยังประกาศบังคับใช้กฏหมายที่ว่า ผิดกฏหมายที่จะ
วิพากวิจารณ์พระมหากษัตริย์ มาตราที่ 8 ของรัฐธรรมนูญของประเทศไทยระบุไว้ว่า
"องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่ เคารพสัก การะผู้ใดจะละเมิด
มิได้ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระ มหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้"
ภายใต้สถานะภาพนี้ พระองค์ตรัสมีใจความว่า การวิจารณ์ที่สร้างสรรค์เป็นการให้
ข้อมูลในการตรวจสอบข้อผิดพลาดของผู้นำ ถ้ากษัตริย์ถูกห้ามวิจารณ์ ก็แสดงว่า
กษัตริย์มิใช่ปุถุชน ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น ถ้ามีผู้วิจารณ์ว่า
กษัตริย์ทำสิ่งผิดพลาด ก็น่าจะรับฟังไว้ แต่ถ้ากษัตริย์ไม่ฟัง ก็อาจเกิดปัญหา และ
ยุ่งยากก็จะตามมา

ราชธรรม 10 หรือ ทศพิธราชธรรม

คุณธรรมหลักของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งได้ปฏิบัติสืบทอดต่อเนื่องยาวนานมาแต่
โบราณกาล ในการปกครองบ้านเมืองให้มีความร่มเย็นเป็นสุข

1. ทาน คือการบริจาคให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ด้วยการสละทรัพย์สิ่งของ
เพื่อช่วยผู้และเดือดร้อนและอ่อนแอ ไม่สร้างความร่ำรวยโดยใช้ตำแหน่งของ
ตนเอง

2. ศีล คือการรักษาความสุจริต มีความประพฤติดีงาม ทั้งกาย วาจา ใจ ประพฤติตน
ให้เป็นแบบอย่างที่ดีงามกับประชาชน

3. บริจาค คือการเสียสละความสุขส่วนตัว การแบ่งปันทรัพย์สินนอกกายให้เป็น
ประโยชน์ต่อส่วนรวม สละได้แม้กระทั่งชีวิตถ้าจำเป็น

4. อาชชวะ คือความซื่อตรงและความจริงใจ ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ
ซื่อสัตย์สุจริตโดยไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใด

5. มัททวะ คือความอ่อนโยน สุภาพทั้ง กาย วาจา ใจ ในทุกสถานการณ์ ไม่แข็ง
กระด้างไม่แสดงการยกตนข่มท่าน

6. ตบะ คือความเพียรพยายาม ทำสิ่งที่ควรทำ มีความสม่ำเสมอ ปฏิบัติหน้าที่อย่าง
ไม่บกพร่อง มีจิตใจที่หนักแน่น ไม่ย่อท้อ

7. อโกธะ คือความไม่โกรธ มีจิตใจเมตตา มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น และให้อภัย
มีความเยือกเย็น

8. อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียนผู้อื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม สนับสนุนสันติภาพ
และหลีกเลี่ยงสงคราม

9. ขันติ คือความอดทนอดกลั้น ต่อความยากลำบาก ไม่หวั่นไหว ท้อแท้ใจ

10. อวิโรธนะ คืดการวางตนให้หนักแน่น ตั้งมั่นอยู่ในธรรมโดยไม่มีความหวั่นไหว
มีความอ่อนโยนและเที่ยงธรรม

และสิ่งเหล่านี้คือที่มาของดนตรีแห่งราชันย์
สำหรับข้อมูลและบทเพลงเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม
http://kanchanapisek.or.th/royal-music/index.en.html

BLUE DAYMusic: H.M.K. Bhumibol AdulyadejLyric: H.H. Prince Chakrabandh Pensiri












Oblivion Duo Guitar