วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552

Summarise the information..



หลายๆคนคงจะเห็นตัวอย่างการเขียน writing task1, task2 จาก เวบไซด์ ต่างๆ ของ IELTS ในส่วนของ Academic English และอาจมีบางคนเช่นตัวดิฉันเองรื้อค้นจนกระจุยกระจาย เพื่อจะหาตัวอย่างดีๆนำไปประกอบการเขียนเพื่อจะอ่าน กราฟและตัว สถิติ ในรูปแบบต่างๆ ที่คน สอนอย่างตัวของดิฉันเองควรจะทำได้ และนำคำอธิบายอย่างง่ายๆไปสอนเพราะดูว่ามันไม่น่าจะมีอะไรยาก ฺBar Chart , Line chart , Pie chart , หรือตารางต่างๆ จะอยู่ในวิชาสถิติพื้นฐาน ของมัธยมศึกษาตอน ปลาย ที่ดิฉันเรียนมา ตลอดจนวิชาสถิิติของ ระดับปริญญาตรี จิตวิทยา ก็ได้ เรียนมามากมาย การเปรียบเทียบ ด้วยการอ่านค่า แปลความหมาย ทำรายงานเสนอหน้าชั้น ตลอดจนงาน Dissertation หรือReserch ก็ผ่านมามากมายนับครั้งไม่ถ้วน การเขียนเรียงความ(Essay) หรือทำรายงาน ที่จะประกอบด้วย cause และ effect เพื่อการเขียนที่มีสาเหตุและมีผลติดตามมา และดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้การเขียนดูมีน้ำหนักเพื่อจะได้คะแนนดูดี การเปลี่ยน Verb ให้เป็นคำนาม ที่เรียก Nominalisation จะทำอย่างไร งานนี้ก็ต้องหาหลักการดีๆและตัวอย่างดีๆ มาฝึกหัดกัน คนที่มีพื้นฐานGrammar ดีๆก็จะง่ายต่อการเข้าใจ แต่การ focus และตีความจะถูกใจผู้ตรวจแ่ค่ไหนนั่นเป็นปัญหาึหนึ่ง ที่ผู้เรียนต้องทำการบ้านให้มากขึ้น การเป็น self studyของ Academic English สำหรับคนไทยที่เรียนภาษาอังกฤษไม่ง่ายเลย เพราะการวัด ( graded)และ วิธีการประเมินผล เป็นแบบฉบับของ Ielts เองจริงๆ และมีข้อจำกัดของเวลา แต่ตัวอย่างที่มีอยู่ กลับยังเป็นปัญหาให้ขบคิด นอกจาก ยังหาข้อสรุปแน่นอนไม่ได้ กับ การอ่าน Charts ว่าการเปรียบเที่ยบ อันใด จะสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ตรวจ และสร้างความราบรื่นให้ตัวเราเวลาอธิบาย โดยบังเอิญก่อนจะปีใหม่ ดิฉันได้รับ email เป็นielts ของรัสเซีย พูดถึงพฤติกรรมของผู้เรียน ภาษาอังกฤษ English tips อ่านแล้วรู้สึก เลยว่า ทำไมผู้เรียนหรือผู้สอนเองมีความรู้สึก (uneasy...umm..) กับการเขียนอธิบาย ตาราง หรือ กราฟหน้าตาต่างๆ เพราะความรู้สึกแรก คือความรู้สึกไม่เชื่อตัวเลขทางสถิติ ที่นำมาให้เรา Summarise
the information....ว่ามาจากไหน เป็นตัวเลขหลอกๆกัน
ที่เขาใช้คำว่า lie ..ตัวเลข กราฟที่ให้มากลับกลายเป็นตัวบดบังความรู้สึกดีๆ ของ ความอยากจะเขียน ให้ ชัดเจนและราบรื่น ทั้งๆ ที่ข้อสอบที่ได้มา เป็นเพียงตัวอย่าง วัดความสามารถทางภาษา ที่คนเรียนเก่งจะไม่มีปัญหาเลยตรงนี้ แต่คน ส่วนหนึ่ง ที่ยังไม่สามารถฝ่าด่าน ตรงนี้ คำถามว่าว่าทำไมตัวเลขสมมุติ กลับกลายเป็นสิ่งที่บั่นทอนสติปัญญาเราไปได้ และเราจะจัดการกับปัญหาที่ไม่น่าจะเกิดนี้ได้ แค่ไหน
ยินดีรับฟังความเห็นค่ะ
love&light
A. Jane

olacm@yahoo.com

www.scene4.com



Oblivion Duo Guitar